QA & QC ต่างกันอย่างไร อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ต้องรู้!

Last updated: 15 พ.ย. 2565  |  80610 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 QA & QC ต่างกันอย่างไร อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ต้องรู้!

เชื่อว่าต้องมีคนที่เคยได้ยินกันมาบ้างว่าการผลิตสินค้าทุกอย่าง ควรมีระบบการตรวจที่เรียกว่า QA และ QC เคยสงสัยกันบ้างไหมคะ ว่า QA และ QC คืออะไร แล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร และที่สำคัญทำไม โรงงานผลิตเครื่องสำอาง Derma Innovation ถึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ๆ เราจะมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจกันได้อย่างง่าย ๆ ตามมาเลย 


QA คืออะไร มีหน้าที่และคุณสมบัติอย่างไร ?

  QA (Quality Assurance) หรือ การประกันคุณภาพ คืออะไร ?

QA ย่อมาจาก Quality Assurance หรือ การประกันคุณภาพ คือ กระบวนการที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถการันตีได้ว่าสินค้าและบริการ มีคุณลักษณะตอบสนองความต้องการทางด้านคุณภาพได้ตามตกลง ซึ่งเป็นการรับประกันที่สามารถที่ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น


  หน้าที่ของ QA (Quality Assurance)

เจ้าหน้าที่ QA คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ เน้นไปที่การวางแผน และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการผลิต โดย QA จะเป็นผู้ที่กำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานของสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รวมถึงต้องตรวจสอบสินค้าที่ผ่านการ QC มาเรียบร้อยแล้ว หากเกิดปัญหาขึ้นในกระบวนการผลิต ตำแหน่งงาน QA คือตำแหน่งที่ต้องมองเห็นถึงปัญหา แล้วต้องนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์เพื่อวางแผน ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย หรือลดจำนวนการเกิดปัญหาในระยะยาว


  คุณสมบัติของ QA (Quality Assurance)

คุณสมบัติ QA ที่ดีต้องเป็นผู้ที่สามารถใช้ความรู้พื้นฐานเรื่องการควบคุมงานคุณภาพได้ มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐาน ISO แต่ละประเภท และสามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี งาน QA คืองานที่เหมาะสำหรับบุคคลที่มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ มีความสามารถในการจัดการ วางแผนงาน และจะต้องเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ เป็นคนละเอียดในการทำงาน สื่อสารได้ดีสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้


QC คืออะไร มีหน้าที่และคุณสมบัติอย่างไร ?

 QC (Quality Control) หรือ การควบคุมคุณภาพ คืออะไร ?

QC ย่อมาจาก Quality Control คือ การควบคุมคุณภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยการควบคุมการผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ ให้ได้ตามาตราฐานที่ลูกค้ากำหนด 


  หน้าที่ของ QC (Quality Control)

เจ้าหน้าที่ QC คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ ควบคุม ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการกำกับตรวจสอบ ก่อน ระหว่าง และหลังการผลิต ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (RAW MATERIAL) ทุกครั้งก่อนที่จะนำวัตถุดิบทุกตัวที่นำมาใช้ในการผลิต เจ้าหน้าที่ QC ต้องทำการสุ่มตรวจวัตถุดิบ ว่าวัตถุดิบที่ได้มามีคุณภาพตรงกับ Certificate of Analysis หรือไม่
  2. ตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (PACKAGING) ทุกครั้งก่อนที่จะนำบรรจุภัณฑ์เข้ามาใช้งาน ต้องมีการตรวจสอบผ่านจากเจ้าหน้าที่ QC ก่อนเสมอ เพื่อมั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่เข้ามาตรงตาม Standard ที่กำหนด
  3. ตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์ (BULK) การตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ลักษณะการทดสอบ คือ Physical Chemical Testing เป็นการทดสอบทางกายภาพและทางเคมีของเนื้อผลิตภัณฑ์ คือการตรวจ Appearance (ลักษณะภายนอก) , Color (สี) , Odor (กลิ่น) , pH (ความเป็นกรด ด่าง) , Viscosity (ความข้นของเนื้อผลิตภัณฑ์) Microbiology Testing เป็นการทดสอบเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยส่งตรวจที่ห้องตรวจเชื้อที่ได้มาตรฐาน
  4. ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิตทุก ๆ ชั่วโมงจะมีเจ้าหน้าที่ตำแหน่ง QC line คือผู้เดินตรวจงานในไลน์การผลิต โดยจะใช้การสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ เช่น ตรวจดูการติดสติ๊กเกอร์ การใส่กล่อง และอื่น ๆ ว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่
  5. ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (FINISH GOOD)

หลังจากได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (FINISH GOOD) เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ QC จะต้องทำการสุ่มว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตรงตามมาตรฐานหรือไม่ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า Retain Sample เพื่อนำเนื้อครีมมาตรวจสอบในภายหลังได้ โดยอายุการจัดเก็บขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์


  คุณสมบัติของ QC (Quality Control)

คุณสมบัติ QC ที่ดีต้องเป็นผู้ที่สามารถใช้ความรู้พื้นฐานเรื่องการควบคุมงานคุณภาพได้ มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐาน ISO แต่ละประเภท และสามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี


สรุปความแตกต่างของ QA และ QC 

สรุปอย่างง่าย ก็คือ การตรวจสอบและการควบคุมคุณภาพ (QC) และ การประกันคุณภาพ (QA) นั้นต่างเป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อทำการป้องกัน (Prevention) การเกิดความผิดพลาดที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการในทุกด้าน โดยที่ QA เน้นการจัดการ การประกันคุณภาพ การป้องกันสินค้าชำรุด หรือไม่ได้คุณภาพ ให้มีคุณภาพ ในขณะที่ QC เป็นการควบคุมคุณภาพ โดยการตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐาน และแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานที่มีไว้ รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องและกำจัดสาเหตุนั่นเอง


ตัวอย่างศัพท์เฉพาะทางน่ารู้ในกระบวนการทำงานของ QA และ QC

  • Standard หมายถึง ตัวอย่างต้นแบบในการผลิต และตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามที่ตรงลง

  • Physical Chemical Testing หมายถึง การทดสอบทางกายภาพและทางเคมี

  • Microbiology Testing หมายถึง การทดสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และเชื้อก่อโรคต่าง ๆ

  • Appearance หมายถึง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์

  • Viscosity หมายถึง ความข้นหนืดของเนื้อผลิตภัณฑ์

  • Finish Good หมายถึง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

  • Retain Sample หมายถึง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อนำเนื้อผลิตภัณฑ์มาตรวจสอบในภายหลัง


นอกจาก QA กับ QC แล้ว โรงงานบางที่ก็อาจมี QS ด้วยเหมือนกันนะ

นอกจาก QA กับ QC แล้ว โรงงานบางที่มี QS ด้วยโดย QS ย่อมาจาก Quantity Surveyor หรือ ผู้ตรวจสอบปริมาณงาน คือ บุคคลที่ทำการตรวจสอบปริมาณงานจากรูปแบบที่ได้รับเพื่อทำการประเมินงาน

จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าทั้ง QA และ QC ต่างก็เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตอย่างมาก การทำงานร่วมกันของทั้งหน่วยงาน ทำให้ผู้บรโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ตามความต้องการทางโรงงานผลิตครีม โรงงานผลิตเครื่องสำอาง Derma Innovation มีทีม QA & QC ที่คอยดูแล และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานให้กับแบรนด์ครีมของลูกค้าทุกท่าน เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านมีความมั่นใจได้เลยว่า สินค้าที่ลูกค้าได้รับจากทางเราไป ได้มาตรฐานทุกชิ้นแน่นอนค่ะ

หากสนใจอยากสร้างแบรนด์ครีมและเครื่องสำอางกับบริษัท เดอร์มา อินโนเวชั่น โรงงานผลิตครีม โรงงานผลิตเครื่องสำอาง รวมทั้งปรึกษาการสร้างแบรนด์ด้วยตัวเองกับเรา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้