9 ข้อต้องรู้ บุกตลาดเมียนมา

Last updated: 27 ส.ค. 2562  |  8992 จำนวนผู้เข้าชม  | 

9 ข้อต้องรู้ บุกตลาดเมียนมา

9 ข้อต้องรู้ บุกตลาดเมียนมา
" Let's go to MYANMAR with DERMA INNOVATION "


 

         เมียนมาเป็นอีกหนึ่งประเทศเนื้อหอมที่กำลังได้รับความสนใจ จากนักลงทุนทั่วโลก เพราะประเทศเต็มไปด้วยทรัพยากร และโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ยิ่งหลังเปิดประเทศ ยิ่งเป็นอีกโอกาสทองของนักธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดเพื่อการเติบโตในอนาคต ลองมาดู 9 ข้อต้องรู้ก่อนบุกตลาดเมียนมาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกันก่อน

1. ธุรกิจท่องเที่ยวสดใส เห็นได้จากยอดนักท่องเที่ยวที่พุ่งสูงถึง 5 ล้านคน และตั้งเป้าเป็น 7.5 ล้านคนในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้บริษัทท่องเที่ยวยังเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 แห่ง จากเดิมที่มีเพียง 1,623 แห่งเมื่อปี 2557 แถมตอนนี้ ญี่ปุ่นและอังกฤษยังร่วมมือพัฒนา 3 เมืองสำคัญ อย่าง มัณฑะเลย์ ปะเตง มะละแหม่ง ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ตลอดจนการเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในเขตมณฑลตะนาวศรี แต่ทุกวันนี้ เมืองใหญ่อย่างย่างกุ้งมีโรงแรมแค่ 300 กว่าแห่งนั้น ถ้ารวมที่พักแบบอื่นอย่างโฮสเทลด้วยทั้ง เมียนมาก็มีแค่ 1,000 กว่าแห่งเท่านั้น  SME ไทยที่เชี่ยวชาญธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร หรือสปา มีโอกาสเติบโตอยู่แค่เอื้อม 

2. ชนชั้นกลางมาแรง ในปี 2563 คาดว่าเมียนมาจะมีชนชั้นกลางที่รวยมากขึ้นถึง 10 ล้านคน และรัฐบาลยังเพิ่มเงินเดือนข้าราชการอีก 50%เพื่อให้ข้าราชการที่มีอยู่ 1.5 ล้านคนมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่จริงๆแล้วอาจจะไม่ต้องรอถึงปี 2563 เพราะทุกวันนี้เห็นชัดเจนว่าคนเมียนมามีกำลังซื้อสูงขึ้น เห็นได้จากสินค้าที่ตอบสนองความสบาย เช่น แอร์ ตู้เย็น มียอดขายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสินค้า Life Style ยิ่งน่าจับตา เพราะสมัยก่อนการจะหากาแฟคาปูชิโน่สักแก้วในย่างกุ้งยังยาก แต่ตอนนี้มีร้านกาแฟสวยๆ ผุดขึ้นเกิน 20 แห่ง ขายกาแฟที่แพงกว่ากาแฟรถเข็น 10 เท่า หรือ KFC ที่มาเปิดวันแรกก็มีลูกค้าเป็นร้อยๆ คนมายืนต่อคิวรอหลายชั่วโมง เพื่อลองซื้อไก่ทอดที่แพงกว่าไก่ทอดทั่วไปถึง 3 เท่า ที่จริงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะวันนี้ ผู้บริโภคเมียนมามีลักษณะเปิดใจ กล้าลองสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น 

3. ธุรกิจรถยนต์น่าจับตา ย่างกุ้งเป็นเมืองที่มีแต่รถยนต์ เพราะมีกฎห้ามใช้มอเตอร์ไซค์ บวกกับรัฐฯ เพิ่งอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ได้ หลังเคยมีข้อจำกัดในการขอใบอนุญาตนำเข้าในช่วงปิดประเทศ ทำให้จำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนในเมียนมาเพิ่มขึ้นจาก 200,000 คัน เป็น 400,000 คันภายในเวลา 2 ปี เมื่อรถยนต์เพิ่มขึ้น หลายธุรกิจที่จะเติบโตไปพร้อมกันกำลังตามมา เช่น ประกันภัยรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ คาร์แคร์ ดังนั้น SME ที่มีธุรกิจนี้อยู่ พลาดโอกาสดีๆแบบนี้ไม่ได้เด็ดขาด

4. เรื่องสวยงามมองข้ามไม่ได้ ปี 2556 อุตสาหกรรมความงามในเมียนมามีมูลค่าตลาดมากถึง 11,000 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเส้นผมโตมากสุด 97% รองลงมาคือกลุ่มผิวหน้า 70% คลินิกเสริมความงามก็ไปได้สวยเช่นกัน วันนี้ คลินิกความงามยักษ์ใหญ่สัญชาติไทยเปิดสาขาในเมียนมากันหมดแล้ว SME ไทยรายอื่นอย่าเพิ่งถอดใจเพราะยังมีที่ว่างอีกมากมายสำหรับทำธุรกิจสวยๆ งามๆ 

5. ไอทีและออนไลน์แรงไม่หยุด  ปัจจุบันเมืองสำคัญของเมียนมาใช้ 3G เกือบทั้งหมด แถมค่าซิมการ์ดก็เหลือแค่ 1500 จ๊าด หรือราวๆ 50 บาท จากที่แต่ก่อนราคาแพงถึง 60,000 บาท ทำให้ยอดขายซิมการ์ดแต่ละเดือนเลยเฉลี่ยสูงถึง 350,000 อัน  ชาวเมียนมากว่า 14 ล้านคนมีมือถือใช้ และ 20% เริ่มหันมาใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ แถมชาวเมียนมาก็ใช้โซเชียลมีเดียไม่ต่างจากบ้านเรา แอพพลิเคชั่นฮิตสุดคือ ไวเบอร์ และ Facebook ดังนั้น SME อุปกรณ์ไอทีมีโอกาสดีๆรออยู่มากมายและที่สำคัญธุรกิจขายของออนไลน์ในเมียนมาเกิดขึ้นแน่นอนในไม่ช้านี้ 

6. Made in Thailand มีชัยไปกว่าครึ่ง สินค้าจากไทย อย่างไรก็ขายได้ เพราะชาวเมียนมาชื่นชอบสินค้าไทยมาก จนสินค้าจากบางประเทศใช้ภาษาไทยบนหีบห่อเพราะอยากให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นสินค้าจากประเทศไทยแต่ถ้าหาก SME อยากบุกตลาดจริงจังอาจต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้ถูกทาง เช่น แจกสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ฟรี นอกจากทำให้ลูกค้ารู้จักสินค้าแล้ว ยังเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าและแบรนด์ไปในตัว

7. เริ่มต้นจากตลาดค้าชายแดนก่อน SME ไทยอาจเริ่มจากเข้าไปค้าขายตามชายแดนก่อน โดยสินค้าที่ขายควรลงรายละเอียดสินค้าเป็นภาษาพม่า เช่น ฉลาก วิธีใช้ เหมือนอย่างมุกดา มาร์เก็ต โชห่วยไทยขวัญใจชาวเมียนมาประจำด่านแม่สอด ที่มีภาษาพม่าในร้าน และมีพนักงานชาวเมียนมาให้บริการ เพราะทุกวันจะมีพ่อค้าคนกลางจากเมียนมามาซื้อของไปขายต่อเยอะมาก อีกวิธีที่น่าลอง คือ การอาศัยตัวแทนจำหน่ายคนไทยที่เปิดร้านขายสินค้าไทยในเมียนมา ในการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไทยสู่เมียนมา นอกจากมีหน้าร้านขายสินค้าแล้วยังช่วยโปรโมตเป็นภาษาพม่า และทำหน้าที่ช่วยเจรจาระหว่าง SME ไทยกับชาวเมียนมาที่สนใจเป็นตัวแทนนำสินค้าไปขายต่อ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ SME ไทยขยายตลาดไปยังเมียนมาได้ง่ายขึ้น

8. สื่อทีวีเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ทีวีคือสื่อหลักที่เข้าถึงชาวเมียนมาได้มากสุดถึง 94% ชาวเมียนมา 48% ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการเพราะโฆษณาทีวี ซึ่งค่าโฆษณาทีวีช่วงไพรม์ไทม์ มีราคาประมาณ 48,000 บาท ต่อ 30 วินาทีเท่านั้น

9. ต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนได้ 3 แบบ คือถือหุ้น 100% (Full Ownership) ร่วมทุนกับชาวเมียนมาหรือหน่วยงานภาครัฐเมียนมา (Joint Venture) และลงทุนในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership)  แต่ SME ต้องพิจารณาให้ดีเพราะแต่ละธุรกิจจะมีเงื่อนไขต่างกัน เช่น สนามกอล์ฟลงทุนแบบ Joint Venture ได้เท่านั้น ธุรกิจนิตยสารเฉพาะทางภาษาต่างประเทศ รัฐฯ กำหนดให้ชาวเมียนมาต้องถือหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 51 หรือถ้าเป็นธุรกิจโรงแรม 4-5  ดาว จะสามารถลงทุนได้ 100% เพราะเมียนมายังมีโรงแรมน้อยมาก  ถ้าอยากเข้าไปลงทุน ขอแนะนำว่า SME ควรหาพันธมิตรทางธุรกิจชาวเมียนมาให้ได้ก่อน 

        ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในเมียนมาจึงควรเดินทางไปสำรวจตลาดจริงให้เห็นสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และวิถีชีวิต ของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำมาวางแผนธุรกิจบุกตลาดที่มีโอกาสมากมายให้ SME ไทยรีบคว้ามาครอบครอง

        อยากไปตลาดเมียนมา สร้างแบรนด์กับเดอร์มา อินโนเวชั่น….การันตีได้ไปจริงไม่ทิ้งกลางทางแน่นอน

 

ขอขอบพระคุณข้อมูลและวิดีโอจาก : KSMEKnowledge

        และถ้าหากลูกค้าท่านใดสนใจในการทำตลาดใน CLMV ทางเดอร์มาฯ ก็มีบริการขอ Certificate of Free Sales (หนังสือรับรองการจำหน่าย) หรือ Certificate of Origin (หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า) เพื่อใช้ในการส่งออกสินค้าให้ค่ะ 

ตัวอย่าง Certificate of Free Sales (หนังสือรับรองการจำหน่าย)

 

ตัวอย่าง Certificate of Origin (หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า)

 

         นอกจากนี้ ยังมีคอร์สสอนการตลาดแบบจัดเต็ม ที่สามารถเรียนได้ ฟรี! เพียงสั่งผลิตกับทางเดอร์มา อินโนเวชั่น ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ รวมถึง Private Line Group ที่สามารถปรึกษาข้อสงสัยทางการตลาดได้ตลอดเวลา 

         

         

         เดอร์มา อินโนเวชั่น โรงงานมาตรฐานระดับส่งออกที่ไม่ใช่แค่รับผลิต แต่เรายังเป็นที่ปรึกษาหลังการผลิตที่จะช่วยให้แบรนด์คุณประสบความสำเร็จทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ด้วยโรงงานมาตรฐาน ASEAN GMP, ISO 22716, ISO 9001 และ HALAL ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าครีมที่ผลิตกับเรา นอกจากจะอัดแน่นไปด้วยคุณภาพแล้ว ยังอัดแน่นไปด้วยมาตรฐานที่จะทำให้แบรนด์คุณ เหนือกว่าแบรนด์อื่นๆทั่วไป และประสบความสำเร็จในตลาดเครื่องสำอางได้ไม่ยาก


คลิกดูมาตรฐานของเดอร์มา อินโนเวชั่น 

www.derma-innovation.com/our-standard

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้