Last updated: 23 Jun 2022 | 62775 Views |
แอลกอฮอล์ที่ใช้ได้จริงๆ เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล
ปกติจะไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง จะมีก็จะเป็นผลในแง่ของความชุ่มชื้นของผิวหนัง ทำให้ผิวแห้ง แต่ด้วยความจำเป็นก็ต้องใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค แต่ปัจจุบันแอลกอฮออล์ล้างมือมีการพัฒนาเป็นรูปแบบเจล ซึ่งจะมีส่วนผสมที่ให้ความชุ่มชื้น ทำให้กระบวนการดึงน้ำของแอลกอฮอล์ที่สัมผัสกับผิวหนังช้าลงอย่างน้อย 20 วินาที โดยการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือควรนับ 1-20 ก็จะช่วยให้กระบวนการดึงน้ำได้ช้าลงและฆ่าเชื้อได้ทั่ว
สำหรับแอลกอฮอล์ที่มีการใช้ในปัจจุบัน จะเป็นเอทิลแอลกอฮอล์
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า “ฟาร์มา เกรด” (Pharma Grade) หรือ ฟู้ดเกรด เป็นแอลกอฮอล์กว่า 95% สามารถกินได้
2. เป็นแอลกอฮอล์เกรดรองลงมา เป็นเอทิลเเอลกอฮอล์ 95% ใช้ในการผลิตเบียร์ เครื่องสำอาง หรือสเปรย์ต่างๆ ที่ฉีดพ่น
3. เป็นแอลกอฮอล์ล้างแผล หรือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol หรือ IPA) เป็นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เป็นยาใช้ภายนอก จะมีกลิ่นฉุน มีการใส่สารแปลงอย่างพวกสารที่ทำให้เป็นสีฟ้า เพื่อให้แยกออกจากแอลกอฮอล์ที่เป็นฟาร์มาเกรด โดยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อสามารถใช้กับผิวหนังได้ แต่เมื่อใช้แล้วต้องระวังอย่าไปหยิบจับสิ่งของกิน เพราะเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้ผลิตเพื่อวัตถุประสงค์เหมือน 2 ชนิดแรกข้างต้น
มีวิธีสังเกตเบื้องต้น
1.แอลกอฮอล์ที่มีสีฟ้า ไม่ใช่ Food Grade 100% ใครบอกสีฟ้าของตัวเองเป็น Food Grade โกหกแน่นอนค่ะ
2.กลิ่นแอลกอฮอล์ต้องไม่ฉุน เมื่อแอลกอฮอล์ระเหยไปแล้ว 20 วินาทีหลังฉีด ต้องไม่ทิ้งกลิ่นใดๆ บนมือ
3.ต้องไม่ใส่สี ไม่ใส่กลิ่น ไม่ใส่น้ำหอม
4.ต้องมีเอกสารแสดงแหล่งที่มาครบถ้วน