Surfactant สารทำความสะอาด ที่หลายคน..ไม่รู้จัก⁉️

Last updated: 8 Mar 2019  |  73170 Views  | 

Surfactant สารทำความสะอาด ที่หลายคน..ไม่รู้จัก⁉️

     ปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวด โฟมล้างหน้า เจลล้างหน้า มูสล้างหน้า หรือจะเป็นของใช้ในครัวเรือน เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น ทุกอย่างล้วนมีสารเคมีที่ชื่อว่า Surfactant เป็นส่วนประกอบทั้งนั้น วันนี้มิสเดอร์มาฯ จะพาเพื่อนๆ ทุกคน ไปทำความรู้จักกับสารเคมีชนิดนี้กันค่ะ ว่ามันคืออะไร? มีกี่ชนิด? แต่ละชนิดใช้ทำอะไรบ้าง? ให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้กันมากขึ้นค่
 
 
SURFACTANT

     สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เป็นสารที่เมื่อละลายน้ำแล้วจะช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ซึ่งคำว่า Surfactant มาจากคำว่า Surface active agent มีคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนหัวที่เป็น Hydrophilic (ชอบน้ำ) และส่วนหางที่เป็น Hydrophobic (ชอบน้ำมัน)

การทำงานของ SURFACTANT

      หลักการทำงานของ Surfactant คือ ส่วนหัวที่ชอบน้ำจับกับน้ำ ส่วนหางที่ชอบน้ำมันจับกับสิ่งสกปรกพวกไขมันที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแขวนลอยอยู่ในน้ำ


ประเภทของ SURFACTANT

      Surfactant แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับประจุไฟฟ้าที่อยู่บนส่วนหัว (Hydrophilic)

  1. Aninonic Surfactant (-) สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ เป็นสารกลุ่มหลักของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกได้ดีมาก มีฟองมาก และละลายน้ำได้ดี แต่ค่อนข้างระคายเคืองผิว นิยมใช้กันมากใน สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าต่างๆ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ  เช่น SLS (Sodium laureth sulfate), SLES(Sodium laureth sulfate), Sarcosinate, Sodium / Ammonium Lauryl Ether Sulphate,  Sodium /Ammomiun LaurylSulphate,  Linear Alkyl Benzene Sulphonate ( LAS) เป็นต้น

  2. Cationic Surfactant (+) สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก สารกลุ่มนี้ไม่มีความสามารถในการทำความสะอาด และไม่มีฟอง แต่สามารถเกาะและเคลือบเส้นผมได้ดี จึงนิยมใช้ในกลุ่มของ ครีมนวดผม หรือ น้ำยาปรับผ้านุ่ม เช่น Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB), benzalkonium chloride, Polyquaternium, Alkyltrimethyl ammoniumchloride เป็นต้น

  3. Amphoteric Surfactant (+,-) สารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบ สารทำความสะอาดกลุ่มน้ำมีคุณสมบัติทนต่อน้ำกระด้าง อ่อนโยนต่อผิว สามารถใช้ร่วมกับ SLS, SLES ได้ดี เมื่อใช้ร่วมกันสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อข้นขึ้นได้ ให้ฟองนุ่มมาก แต่ทำความสะอาดได้ไม่ดีเท่า Anionic Surfactant จึงนิยมใช้ร่วมกัน สารในกลุ่มนี้เช่น Cocamidoproply Betain เป็นต้น

  4. Nonionic Surfactant สารลดแรงตึงผิวชนิดนี้ไม่มีประจุ สารในกลุ่มนี้มีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ละลายน้ำไม่ได้ จนละลายน้ำได้ดีมาก สารกลุ่มนี้อ่อนโยนต่อผิวมาก แต่ไม่ให้ฟอง บางคนไม่ชอบเพราะไม่มีฟอง ทำให้รู้สึกว่าไม่สะอาด จริงๆแล้ว การมีฟองหรือไม่มี ไม่ได้เกี่ยวกับการทำความสะอาด ชะล้างสิ่งสกปรกเลย มันจึงเป็นความเชื่อผิดๆที่ว่ายิ่งฟองเยอะยิ่งสะอาด  การที่ฟองยิ่งเยอะจะทำให้ผิวเรายิ่งระคายเคืองด้วยซ้ำ เช่น Lauryl Glucoside, PEG-6 Caprylic/Capric Glycerides เป็นต้น  ซึ่งนิยมใช้ใน เจลล้างหน้าสูตรไม่มีฟอง และ ผลิตภัณฑ์กลุ่มล้างเครื่องสำอางต่างๆ


      เรามาสรุปความสามารถของ Surfactant ทั้ง 4 ชนิด กันนะคะ จะเห็นว่าสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบจะมีคุณสมบัติทำให้เกิดฟองดีที่สุด ส่วนสารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบจะมีคุณสมบัติในการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มดีที่สุด สารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในปัจจุบันได้มีการนำสารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ที่มา : https://dss.go.th, https://content.chemipan.net





    "เป็นอย่างไรบ้างคะ ลองพลิกดูหลังฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกลุ่มทำความสะอาดกันดูนะคะ ว่าใช้ Surfactant กลุ่มไหนกันอยู่เอ่ย?? แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ สวัสดีค่ะ"

มิสเดอร์มา
by Derma Innovation

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy