ผิวไหม้แดด บำรุงยังไงให้ผิวกลับมาสุขภาพดีอีกครั้ง

Last updated: 2 พ.ค. 2567  |  744 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผิวไหม้แดด บำรุงยังไงให้ผิวกลับมาสุขภาพดีอีกครั้ง

 

          ฤดูร้อน หรือ ซัมเมอร์ อย่างเป็นทางการของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี กินระยะเวลาราว 2 เดือนครึ่ง เนื่องจากช่วงเวลานี้ โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์และประเทศไทยทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์พอดี เพราะฉะนั้นความรู้สึกที่แดดร้อนจนเหงื่อไหลหยดเป็นทางเหมือนกับเพิ่งอาบน้ำมาใหม่ ไม่อยากจะก้าวเท้าออกห้องแอร์ เป็นคำพูดจากหลายคนที่ไม่เกินจริง เรียกได้ว่าซัมเมอร์มาเยือนถึงที่อย่างแท้ทรู ปฏิเสธไม่ได้ถึงจะร้อนขนาดไหนแต่ผู้คนก็มักวางแพลนสรรหาทำกิจกรรมท่องเที่ยวนอกบ้านล่วงหน้า เช่น ไปทะเลชายหาด ปิกนิกบาร์บีคิวในสวน เป็นต้น นำพาร่างกายให้ต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดดแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้ มิสเดอร์มาจึงมาพร้อมความรู้จัดเต็มให้เหล่านักอ่านได้รู้จักการเตรียมและดูแลผิวต้อนรับซัมเมอร์อย่างเหมาะสม

ผลิตภัณฑ์กันแดด คือ เพื่อนแท้คู่หู ไม่เฉพาะซัมเมอร์ แต่เราจำเป็นต้องใช้ทุกวันและทาซ้ำบ่อยครั้ง (คลิกอ่านเพิ่มเติม How To ทาครีมกันแดดยังไงให้ปกป้องผิวขั้นสุด) ไม่เช่นนั้นปัญหาจะมาเยือนแทน ถ้าลืมทา หรือ ทาไม่เหมาะสม เพราะเราจะพบเพื่อนใหม่มาในรูปแบบทรมาน นั้นคือ ปัญหาผิวไหม้แดด (Sunburned Skin) ที่อาจอยู่กับเราไปยาว ๆ เลยค่ะ 

ผิวไหม้แดด (Sunburn) คือ ปฏิกิริยาของผิวหนังที่แสดงออกถึงการอักเสบเฉียบพลัน (Acute Inflammation Skin Reaction) เมื่อสัมผัสรับรังสี UV เป็นระยะเวลานาน ทั้งจากแหล่งแสงธรรมชาติดวงอาทิตย์ หรือแสงสังเคราะห์ เช่น Tanning Bed อีกทั้งปัจจัยความเข้มแสง ระยะเวลาสัมผัส รวมถึงการใช้ยารักษา ช่วงเวลาของวัน การลดลงของปริมาณชั้นโอโซนในบรรยากาศ ความสูงพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเล ฟ้าโปร่ง และประเภทผิวส่วนบุคคล เป็นต้น เป็นสาเหตุหลักเพิ่มความเสี่ยงการเกิดผิวไหม้แดด ดังนี้

  Medication – การใช้ยารักษาโรค

การเกิดผิวไหม้แดดมีโอกาสเสี่ยงสูงเพิ่มกว่าปกติจากการใช้ยารักษาเฉพาะทาง เช่น thiazide diuretics, sulfonamides,fluoroquinolones, nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs), retinoids, tetracyclines antibiotics และยารักษาอื่น ๆ ที่ทำให้ผิวไวต่อแสงแดด

  Increased UV Index - การเพิ่มขึ้นของดัชนีรังสี UV

  • รังสีจากดวงอาทิตย์ ช่วงเวลา 10.00 น.-16.00 น. อันตรายต่อผิวหนังมากที่สุด
    ·      
  • ฟ้าโปร่ง ทำให้ความเข้มรังสีแสงแดดส่องมาถึงโลกและผิวหนังมนุษย์ได้มากขึ้น
  • พื้นที่ ที่อยู่อาศัยอยู่เหนือระดับน้ำทะเลสูง มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงผิวไหม้แดด เนื่องจากชั้นบรรยากาศโลกที่คอยป้องกันรังสีแสงแดดนั้นน้อยลง

  • พื้นที่ ที่อยู่อาศัยบริเวณเส้นศูนย์สูตร จะได้รับความเข้มของรังสีแสงแดดมากกว่า เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น

  Ozone Depletion – การลดลงของปริมาณชั้นโอโซนในบรรยากาศ

ในบางพื้นที่ของโลก ชั้นโอโซนถูกทำให้น้อยลงจนเกิดช่องโหว่ในบรรยากาศ ส่งผลให้รังสีแสงแดดเดินทางแทรกซึมผ่านช่องโหว่นี้ส่องมาถึงโลกและผิวหนังมนุษย์ได้มากขึ้น

  Fitzpatrick Skin Phototype - ประเภทผิวส่วนบุคคล

ในปี 1975 นายแพทย์ Thomas Fitzpatrick คือผู้ออกแบบระบบการแบ่งประเภทต้นแบบสีผิวหลากหลาย เรียกว่า Fitzpatrick Skin Phototype เพื่อจัดหมวดหมู่สีผิวบุคคลที่มีความแตกต่างกัน และปฏิกิริยาการตอบสนองของผิวหนังต่อรังสี UV

  • Type I : ผิวขาวซีด ผิวไหม้แดดได้ง่าย ผิวไม่แทน

  • Type II : ผิวขาว ผิวไหม้แดดได้ง่าย ผิวแทนได้ยาก

  • Type III : ผิวขาว ผิวอาจไหม้แดด ผิวแทนได้ง่าย

  • Type IV : ผิวน้ำตาลอ่อน ผิวไหม้แดดได้ยาก ผิวแทนได้ง่าย

  • Type V : ผิวเข้ม ผิวไหม้แดดได้ยาก ผิวแทนได้ง่าย

  • Type VI : ผิวดำ ผิวแทบจะไม่ไหม้แดด ผิวคล้ำขึ้น

สีผิว Type I, II และ III มีแนวโน้มไหม้แดดสูงง่ายกว่าปกติ เนื่องจากคนที่มีสีผิวสว่างในชั้นผิวมีปริมาณเม็ดสีเมลานิน (สารสำคัญที่ทำหน้าที่เสมือนเกราะปกป้องผิวจากรังสีแสงแดด) สะสมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนที่มีสีผิวเข้ม

  Tanning - การทำผิวแทน

การตากแดด หรือใช้เครื่องแสงสังเคราะห์จาก Tanning Bed เป็นระยะเวลานาน เพื่อที่จะให้สีผิวมีความคล้ำแทนดูสวยเป็นเรื่องที่นิยมมานานหลายปี อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมนี้เร่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง รวมถึงสัญญาณผิวชราเสื่อมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนเร็วกว่าเดิม

  Inadequate Preventive Measures - การป้องกันแดดที่ปกป้องผิวไม่เพียงพอ

สามารถเกิดได้จากการที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดทาผิวบ่อยตามความเหมาะสม หรือค่าปกป้องแสงแดดของผลิตภัณฑ์กันแดดนั้น ๆ มีค่า SPF ต่ำ รวมถึงไม่ได้ใส่เสื้อผ้าคุณภาพดีปกคลุมเมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดด

อาการผิวไหม้แดดที่แสดงออกมาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ยกตัวอย่าง ผิวแดง ผิวอ่อนนุ่มมีอาการร้อนแสบเมื่อสัมผัส ผิวบวมพอง ผิวลอก เป็นต้น สามารถแบ่งกระบวนการเกิดผิวไหม้แดด ออกเป็น 4 ระยะหลัก ดังนี้

Stage 1: Blood Flow(เพิ่มการไหลเวียนเลือด)

เมื่อไรก็ตามที่ผิวหนังสัมผัสแสงแดด ร่างกายจะผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นกลไกการตอบสนองโดยธรรมชาติเพื่อปกป้องผิวหนังถูกทำร้าย รังสีแสงแดดที่แทรกซึมลงสู่ชั้นผิวหนังกำพร้าจะเข้าทำลาย DNA ที่อยู่ในเซลล์ ทำให้หลอดเลือดในชั้นหนังแท้เกิดการขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือด ในระยะนี้ผิวหนังที่มีสีผิวขาวซีดจะเริ่มสังเกตการเปลี่ยนแปลงเป็นสีชมพูอ่อนในช่วง 10 นาทีแรก ขณะเดียวกันอาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมงสังเกตเห็นลักษณะดังกล่าวในผิวหนังที่มีสีคล้ำกว่า

Stage 2: Redness and Inflammation(รอยแดง และ การอักเสบ)

หลังจากผ่านไป 2-3 ชั่วโมง การไหลเวียนเลือดที่สูบฉีดเต็มกำลังนั้นทำให้ผิวหนังปรากฏรอยแดงเด่นชัดและรู้สึกร้อนผ่าวเมื่อสัมผัส รวมทั้งเกิดการอักเสบ เพิ่มอาการบวมและเจ็บปวดไม่สบายผิว

Stage 3: Blistering(ตุ่มพอง)

บางครั้งเซลล์ในชั้นหนังแท้ถูกรบกวนและเสียหาย ทำให้มีตุ่มพองแทรกเกิดขึ้นอยู่ระหว่างชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ เป็นกลไกร่างกายที่สร้างตุ่มพองมีลักษณะคล้ายฟองอากาศ ภายในมีของเหลว ช่วยทำให้ชั้นหนังแท้ด้านล่างเกิดการฟื้นฟูสภาพตัวเองได้อย่างเต็มที่ พบอาการดังกล่าวกระจายส่วนใด้ก็ได้หลังจากออกแดด 6-24 ชม. ไปแล้ว

Stage 4: Peeling(ผิวลอก)

ระยะสุดท้าย ร่างกายจะฟื้นฟูสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสียหาย โดยปกติเซลล์เคราติโนไซต์ในชั้นล่างของหนังกำพร้าจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนแล้วเคลื่อนที่ขึ้นไปยังผิวชั้นบน เปลี่ยนแปลงทั้งในรูปร่างและสารสำคัญที่สร้างระหว่างทาง ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แต่การที่ผิวถูกทำร้ายจากแสงอาทิตย์ ทำให้เร่งกระบวนการธรรมชาติดังกล่าวเกิดเร็วขึ้นกว่าเดิม เป็นผลให้ผิวชั้นบนเกิดการสะสมทับถมของเซลล์ตายจำนวนมากยึดติดกันคล้ายกับกระดาษทิชชูซ้อนกันเป็นชั้น สภาพผิวลักษณะเกล็ดลอก ๆ เป็นแผ่น ใช้เวลาฟื้นฟูในระยะนี้ประมาณหลายวัน 

จากที่ได้กล่าวมาทั้งผิวไหม้แดดคืออะไร อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง และ 4 ระยะหลักที่แสดงถึงการเกิดผิวไหม้แดด จะดีกว่าไหม ? ถ้าเราเตรียมผิวให้พร้อมเพื่อป้องกันการทำร้ายจากแสงแดด จะได้ไม่เกิดหรือเกิดผิวไหม้แดดให้น้อยที่สุด วันนี้มิสเดอร์มาจึงมาพร้อมเคล็ดลับง่าย ๆ ไม่กี่ข้อที่สามารถทำตามได้เพื่อผิวสวยของเราค่ะ

  • ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด ที่มีค่าป้องกันแสงแดด อย่างน้อย SPF 30 ขึ้นไป ทุกวัน

  • ใช้ซ้ำระหว่างวัน ทุก 90 นาที หากออกแดดกลางแจ้ง (และบ่อยครั้งเมื่อทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออก หรือว่ายน้ำ เป็นต้น)

  • ลด/งดการทำผิวสีคล้ำให้ดูแทนจากเครื่อง Tanning Bed

  • ดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หากต้องมีการใช้ยารักษาเฉพาะทางซึ่งให้ผลข้างเคียงผิวไวต่อแสง

  • ใส่เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติปกป้องปกผิวจากแสงแดด ปกคลุมตามร่างกาย เช่น เสื้อแขนยาว หมวกปีกกว้าง เป็นต้น
 

นอกจากนี้ เจลว่านหางจระเข้ ยังเป็นอีกหนึ่งไอเทมคู่ใจที่คนนึกถึงและใช้กันหลังจากออกแดด (After Sun Product) เพราะรู้สึกว่าเจลที่ถูกลูบไล้ไปตามผิว ช่วยลดการเกิดแรงเสียดทานจากการสัมผัสกับมือโดยตรง ให้การปลอบประโลมสบายผิว ลดรอยแดง ลดความร้อน ลดการอักเสบ ช่วยจัดระเบียบชั้นผิวจากความเสียหายทำให้ผิวกระชับเรียบเนียน รักษาความชุ่มชื้น เร่งฟื้นฟูกระบวนการหายของบาดแผล เนื่องจากเจลว่านหางจระเข้ ได้จากส่วนใบหนาของต้นพืช อุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในหลายหมวดหมู่ ได้แก่ Anthraquinones/ Anthrones, Carbohydrates, Chromones, Enzymes, Inorganic Compounds, Lipid, Proteins, Saccharides, Vitamins และ Hormones ยกตัวอย่างกลไกการทำงานสารสำคัญในเจลว่างหางจระเข้

 Acemannan กระตุ้น Macrophage เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์เซลล์ไฟโบรบลาสต์ให้มีปริมาณคอลลาเจนเพิ่มขึ้นในกระบวนการหายของบาดแผล

 Amino Acid Phenylalanine และ Salicylic Acid ขัดขวางกิจกรรมการเกิดการอักเสบ ด้วยการลดการขยายตัวของหลอดเลือดที่ถูกกระตุ้นโดยสาร Histamine, Serotonin และสารสื่อชักนำการอักเสบอื่น ๆ

 Vitamin C & E เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการอักเสบโดยการจัดการอนุมูลอิสระภายในเซลล์ให้ลดลงเพื่อขัดขวางการเกิดกระบวนการอักเสบ

 Aloin & Emodin ลดอาการเจ็บปวด ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

          ประโยชน์ว่านหางจระเข้เยอะขนาดนี้ ต้องห้ามพลาดสูตร MAV - ALOE VERA SOOTHING GEL ที่ทางเราได้พัฒนาออกมาโดยการใช้สารสกัดจากว่านหางจระเข้เข้มกว่าทั่วไปด้วยเทคนิค freeze drying ทำให้คงคุณสมบัติของสารสำคัญเอาไว้อยู่ในสูตรนี้ มาพร้อมกับน้ำแร่บริสุทธิ์จากธารน้ำแข็งในสวิตเซอร์แลนด์ Lipobelle Glacier ช่วยให้ผิวเย็นสบาย ซึบซาบเพิ่มความชุ่มชื้นพร้อมแร่ธาตุนานาชนิดดูแลผิว




 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้