ทำอย่างไร เมื่อสินค้าโดนก๊อป

Last updated: 8 มี.ค. 2562  |  11274 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำอย่างไร เมื่อสินค้าโดนก๊อป

ทำอย่างไร?? เมื่อสินค้าโดนก๊อป
---- Ctrl + C ----
 
 
 
 
แทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมไปแล้วกับการลอกเลียนแบบสินค้า หรือไอเดียผู้อื่น จนบางครั้งผู้ที่ออกมาไม่เห็นด้วยกับการกระทำแบบนี้กลับถูกมองว่าเป็นพวก “โลกสวย”

แต่เมื่อเราลองมาอยู่ในมุมของเจ้าของต้นฉบับดูบ้างแล้วจะรู้ได้เลยว่าการถูกลอกเลียนแบบนั้นไม่ใช่เรื่องของโลกสวย หรือไม่สวย แต่มันเป็นเรื่องของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ยิ่งสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าที่เราเริ่มต้นมันมาด้วยแรงกายแรงใจจนออกมาเป็นรูป เป็นร่าง ขายดิบขายดี สุดท้ายถูกใครก็ไม่รู้ทำเลียนแบบมาแย่งยอดขายกันดื้อๆ มันก็จะดูเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยยุติธรรมสักเท่าไร แต่ก่อนจะว่ากันถึงเรื่องของข้อกฎหมายที่จะมาเอาผิดกัน เรามาเริ่มต้นแก้ปัญหาด้วยตัวเราเองก่อนดีกว่า ว่าจะทำอย่างไรถึงจะจัดการพวกชอบลอกเลียนแบบได้อย่างดีที่สุด


1. อุดช่องว่างของตลาด
 
อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าเมื่อสินค้าเราโดนก๊อปนั่นแสดงว่ายังมีช่องว่างทางการตลาดที่จะให้สินค้าเลียนแบบมีที่ยืน เพราะฉะนั้นในฐานนะสินค้า Original เราจึงต้องเร่งขยายช่องทางการจำหน่าย หรือฐานลูกค้าให้เร็วเพื่ออุดช่องว่างนั้น เพราะต้องเข้าใจว่าบางครั้งลูกค้าก็ไม่ได้อยากใช้ของเลียนแบบ แต่เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสินค้าแบบเดียวกันถูกผลิตออกมาก่อน

2. เพิ่มคุณค่าให้สินค้า
 
การเพิ่มคุณค่าให้สินค้า ไม่ใช่การเพิ่มมูลค่าสินค้านะคะ เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มราคา หรือลดราคาลงไปสู้กับของเลียนแบบ เพียงแต่เราต้องเพิ่มคุณค่าให้สินค้าของเรา เช่น การมี Story ความเป็นมาของสินค้านั้นๆ ซึ่งคุณค่าเหล่านี้หากเราสื่อสารให้ไปถึงลูกค้าของเราจนลูกค้ารู้สึกอินไปด้วยก็ยากที่ของเลียนแบบจะมาตีตลาด หรือทำตามเราได้

 
 
3. ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ
 
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้แบรนด์ของเราอยู่ในสายตาของลูกค้าเสมอ แม้ลูกค้าจะยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อก็คือการที่ทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์สม่ำเสมอ เช่น การจัดกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เช่น เล่นเกมส์เพื่อแจกสินค้าทดลองใช้ หรือแม้แต่จัดกิจกรรมมีทติ้งต่างๆ สำหรับลูกค้าประจำหรือตัวแทนหลักก็เป็นอีกกลยุทธที่จะทำให้สินค้าลอกเลียนแบบแย่งลูกค้าของเราไปได้ยาก

 
4. สร้างลายเซ็นต์ให้แบรนด์ตัวเอง
 
ทันทีที่เริ่มสร้างแบรนด์ใหม่ให้นึกไว้เสมอตั้งแต่เริ่มว่าอัตลักษณ์ของแบรนด์เรานั้นคืออะไร และให้ตอกย้ำสิ่งนั้น ซ้ำๆ จนลูกค้าจำได้ เช่น ซีรั่มของเราเป็นสารสกัดจากเมือกหอยทากสองสีที่มาจากเกาหลี และมีกลิ่นเฉพาะตัวที่เป็นกลิ่นที่มาจากสารสกัดไม่ใช่กลิ่นสังเคราะห์ จึงไม่มีใครเลียนแบบได้

เมื่อเราย้ำเรื่องนี้ซ้ำๆ จนลูกค้าจำได้แม้มีของเลียนแบบ ลูกค้าก็จะแยกแยะออกว่าแบรนด์ไหนคือของจริง แบรนด์ไหนคือของเทียม


 
5. พัฒนาแบรนด์ตัวเองอยู่เสมอ
 
สุดท้ายหากทำมาทุกอย่างก็ยังไม่วายถูกก๊อปอยู่ตลอดเวลา ก็คงต้องเริ่มที่ตัวเราคือไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาสินค้าของเราให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอด เพราะเมื่อมาถึงจุดๆ หนึ่งเราก็จะพัฒนาจนพ้นขีดจำกัดที่คนลอกเลียนแบบจะทำตามได้ และสิ่งที่เราจะได้กลับมาเป็นกำไรก็คือสินค้าเราจะมีความโดดเด่นมากขึ้นในตลาดอีกมาก

 
สุดท้าย หากเริ่มทำแบรนด์ สิ่งที่ต้องเตรียมตัวและวางแผนรับมือเอาไว้เลยก็คือสินค้าลอกเลียนแบบ เพราะสิ่งนี้ช่วงเริ่มต้นอาจเป็นแค่ปัญหากวนใจเล็กๆ แต่ถ้าทิ้งเอาไว้จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ เพราะถ้าหากถึงจุดที่ลูกค้าปันใจไปใช้ของเลียนแล้วเกิดถูกใจไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด เช่น ราคาถูกกว่า เห็นผลไวกว่า (เพราะของเลียนแบบใส่สารต้องห้าม) เราก็จะเสียส่วนแบ่งทางการตลาด นำมาซึ่งการเสียโอกาส การขาดทุน เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากคิดจะเหนื่อยเพื่อมีแบรนด์ของตัวเองแล้วต้องอย่าลืมวางแผนรับมือเอาไว้ให้ดีนะคะ

ส่วนใครที่กำลังคิดจะก๊อปแบรนด์ของคนอื่น มิสเดอร์มาแนะนำว่าให้เริ่มต้นทำแบรนด์ของตัวเองจะดีกว่าค่ะเพราะการเริ่มต้นแบรนด์ใหม่ไม่ได้ใช้เงินเยอะอย่างที่คิด แถมยังได้อะไรที่เป็นของตัวเองจริงๆ เวลาเอาไปขายก็พูดได้อย่างเต็มปากว่าเราเป็นเจ้าแรก ถ้าหากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรปรึกษาพวกเราได้นะคะ ยินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มสร้างแบรนด์ ไปจนถึงกลยุทธ์การตลาดที่จะทำให้แบรนด์คุณประสบความสำเร็จได้ไม่ยากค่ะ
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้