Last updated: 8 Mar 2019 | 5141 Views |
1. Cleansing แบบน้ำ
คลีนซิ่งแบบน้ำจะเป็นน้ำใสๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Oil-Free คือไม่มีส่วนผสมของน้ำมันอยู่ ซึ่งถือเป็นชนิดคลีนซิ่งที่ป๊อปปูล่าที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะใช้ง่าย เพียงแค่เทคลีนซิ่งลงบนสำลีและค่อยๆ เช็ดเครื่องสำอางออกจนสำลีไม่มีคราบเครื่องสำอางติดอยู่หรือจนผิวสะอาดนั่นแหละค่ะ เป็นอันเสร็จ แถมบางยี่ห้อยังไม่ต้องล้างน้ำตามอีกด้วย แอบบอกนิดหนึ่งว่าถ้ายี่ห้อไหนมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดเครื่องสำอางสูง จำนวนสำลีที่ใช้จะน้อยกว่ายี่ห้อที่ประสิทธิภาพต่ำกว่านะคะ และผิวหน้าหลังใช้ผลิตภัณฑ์จะต้องไม่แห้งดึงจนเกินไปด้วยค่ะ
เหมาะกับ : สาวผิวมันที่สุด ส่วนสาวที่มีผิวหน้าแห้งหรือผิวผสม แนะนำให้เลือกใช้สูตรสำหรับผิวแห้งโดยเฉพาะ
ข้อดี : ไม่ทิ้งความเหนียวหรือความมันไว้บนผิวหน้าของเรา สามารถล้างเมคอัพเฉพาะจุดได้
ข้อเสีย : ไม่สามารถทำความสะอาดเครื่องสำอางกันน้ำออกได้อย่างหมดจดเหมือนกับคลีนซิ่งชนิดออย
2. Cleansing แบบแผ่น
ในปัจจุบัน คลีนซิ่งชีทหรือ Makeup Remover Wipes เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะเหล่าแบรนด์สกินแคร์ต่างๆ เริ่มผลิตโปรดักส์ทำความสะอาดเครื่องสำอางชนิดแผ่นออกมาอยู่เรื่อยๆ ซึ่งลักษณะของคลีนซิ่งแบบแผ่นจะคล้ายๆ ทิชชู่เปียก หรือ Baby wipe ที่เราคุ้นเคยกันนี่แหละค่ะ แต่ส่วนที่แตกต่างกันก็คือส่วนผสม เพราะคลีนซิ่งชีทจะมีส่วนประกอบเป็นตัวทำความสะอาดเครื่องสำอางอยู่ด้วย ดังนั้น ทางที่ดีสาวๆ ไม่ควรใช้ทิชชู่เปียกเช็ดผิวหน้าแบบซุ่มสี่ซุ่มห้านะคะ เพราะทิชชู่เปียกบางยี่ห้อมีส่วนผสมซึ่งอาจจะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนาเราได้
เหมาะกับ : สาวๆ ที่แต่งหน้าไม่เยอะ ใช้ง่ายและสะดวก
ข้อดี : สะดวก ใช้ง่าย ไม่เหนียวเหนาะหนะ
ข้อเสีย : ไม่สะอาดหมดจดเท่าคลีนซิ่งชนิดอื่น และถ้าเทียบกับจำนวนครั้งที่ใช้ คลีนซิ่งชนิดอื่นสามารถใช้ได้นานกว่าและคุ้มค่ากว่าด้วย
3. Cleansing แบบเจล
คลีนซิ่งชนิดเจล น่าจะเป็นอีกหนึ่งช้อยส์ที่น่าสนใจ เนื้อคลีนซิ่งจะเป็นลักษณะใสๆ หรือบางยี่ห้ออาจจะเป็นเนื้อเจลขุ่นๆ ซึ่งจุดเด่นของแต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันออกไปอีก ไม่ว่าจะในเรื่องของส่วนผสม ลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไป บางยี่ห้อไม่ทิ้งคราบมันเอาไว้ด้วยก็มีนะคะ ซึ่งถ้าได้ลองใช้จริงๆ สาวๆ หลายคนอาจจะติดใจก็ได้
เหมาะกับ : สาวๆ ที่แต่งหน้าไม่เยอะ
ข้อดี: คลีนซิ่งชนิดเจลส่วนใหญ่จะมีมอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงผิว ผู้ใช้จะรู้สึกผิวหน้าไม่แห้งตึง
ข้อเสีย: บางยี่ห้อ มีส่วนผสมของน้ำมัน ซึ่งไม่เหมาะกับสาวผิวมันเป็นอย่างมาก
4. Cleansing แบบออย
สำหรับสาวๆ ที่แต่งหน้าหนักๆ ล่ะก็… ต้องขาดไอเท็มคลีนซิ่งชนิดออยไปไม่ได้เลย เพราะน้ำมันบวกกับส่วนผสมที่จะสามารถล้างเครื่องสำอางออกได้ง่ายดายอย่างมาก โดยเฉพาะสาวๆ ที่ชอบใช้เครื่องสำอางแบบกันน้ำ การใช้ง่ายก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่เทเนื้อผลิตภัณฑ์ลงบนฝ่ามือ และนวดเบาๆ ให้ทั่วใบหน้า จากนั้นค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด
เหมาะกับ : สาวๆ ที่มีผิวหน้าแห้ง แต่งหน้าหนัก
ข้อดี : สามารถใช้แทนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดดวงตากับริมฝีปากอย่าง Lip & Eyes Remover ได้
ข้อเสีย : บางยี่ห้ออาจจะทิ้งคราบมันไว้ จึงไม่เหมาะกับสาวหน้ามัน และอุดตันได้ง่าย
5. Cleansing แบบนม
คลีนซิ่งแบบเนื้อนมๆ หรือเนื้อโลชั่น น่าจะเป็นไอเท็มโปรดของใครหลายๆ คน เพราะบางยี่ห้อกลิ่นของเนื้อผลิตภัณฑ์จะออกนุ่มๆ ละมุนๆ คล้ายๆ กับนม วิธีใช้ก็เพียงนวดเบาๆ บนผิวหน้าจนเครื่องสำอางและสิ่งสกปรกออกหมด จากนั้นให้ใช้สำลีหรือฟองน้ำเช็ดหน้าชุบน้ำแล้วเช็ดเนื้อผลิตภัณฑ์ออก ทำซ้ำไปถ้ายังรู้สึกว่ายังไม่สะอาดพอ แล้วค่อยล้างหน้าตามปกติ
เหมาะกับ : สาวๆ ผิวหน้าแห้ง-ปานกลาง
ข้อดี: นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางแล้ว คลีนซิ่งชนิดนี้ยังเป็นการบำรุงผิวไปในตัวด้วย
ข้อเสีย: บางยี่ห้อจะรู้สึกเหนอะหนะไปหน่อยและอาจจะล้างเครื่องสำอางออกไม่เกลี้ยงเท่าคลีนซิ่งแบบน้ำหรือแบบออย
6. Cleansing แบบครีม
เนื้อผลิตภัณฑ์ของคลีนซิ่งชนิดนี้ จะมีความเข้มข้นกว่าคลีนซิ่งชนิดอื่นๆ ที่กล่าวมาค่ะ ลักษณะคล้ายครีมบำรุง และแน่นอนว่าสาวผิวแห้งอาจจะตกหลุมรักคลีนซิ่งตัวนี้ก็ได้นะ เพราะถือเป็นการเติมน้ำให้ผิวไปในตัวด้วย วิธีใช้จะคล้ายๆ คลีนซิ่งเนื้อนม โดยการเทเนื้อผลิตภัณฑ์นวดวนๆ ไปทั่วใบหน้าจนเครื่องสำอางหลุดออกหมดค่ะ
เหมาะกับ : สาวที่มีผิวหน้าธรรมดาถึงผิวหน้าแห้งมากๆ เราแนะนำ
ข้อดี : ด้วยลักษณะครีมที่เข้มข้น จึงสามารถทำความสามารถผลิตภัณฑ์ตระกูลรองพื้นได้ดี
ข้อเสีย : สาวหน้ามันควรหลีกเลี่ยงคลีนซิ่งชนิดนี้ค่ะ เพราะจะทำให้หน้ามันเยิ้มหนักกว่าเดิม
ที่มา : www.beautyhunter.co.th
"อ่านจบแล้ว หลายท่านคงได้รู้จักวิธีใช้ Cleansing แต่ละประเภทกันแล้วนะคะ ยังไงก็เลือกให้เหมาะกับ Lifestyle ของตัวเองนะคะ และก็ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ สวัสดีค่ะ"
มิสเดอร์มา
by Derma Innovation
20 Jun 2023
23 Aug 2023
24 Apr 2024