ก่อนบุกตลาด CLMV Part I : พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ CLMV

Last updated: 19 ก.ค. 2562  |  8232 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ก่อนบุกตลาด CLMV Part I : พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ CLMV

ก่อนบุกตลาด CLMPart I
พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ CLMV


 

         ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการทำการค้าและเปิดเสรีกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) มากขึ้น ทำให้มีนักธุรกิจสนใจเข้าไปลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก่อนจะเข้าไปลงทุนในกลุ่ม CLMV นั้น จะต้องรู้ก่อนว่า แม้ประเทศจะอยู่ใกล้กันแต่วัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย และพฤติกรรมในการบริโภคสินค้านั้นก็แตกต่างกันออกไป วันนี้เราจะมารู้จักพฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ CLMV ไปพร้อมๆ กันค่ะ

          มาเริ่มกันที่...

          กัมพูชา : มีกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และมีความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการทุกประเภทในปริมาณที่สูงเช่นกัน แต่ยังไม่สามารถผลิตให้เพียงพอกับความต้องการได้ สามารถทำการค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือผู้นำเข้าสินค้าและบริการ

          ในเรื่องของอุปนิสัยของคนกัมพูชานั้นยังไม่ไว้ใจสินค้าอะไรง่ายๆ จึงต้องแสดงความจริงใจ พูดจริงทำจริง ไม่โฆษณาเกินความเป็นจริง ควรให้ความรู้เรื่องคุณสมบัติและวิธีการใช้ เพื่อเป็นการดึงดูดให้เกิดความอยากทดลองใช้สินค้า สื่อที่เข้าถึงคนกัมพูชาได้ง่ายคือ โทรทัศน์ สามารถเข้าถึงได้มากถึง 90% และมีค่าโฆษณาที่ค่อนข้างต่ำ

          แต่แม้ในกัมพูชาจะมีความต้องการในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ค่อนข้างสูง การแข่งขันทางการค้าเปิดเสรี ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของโลจิสติกส์ที่ยังมีค่าใช้จ่ายสูง และมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ           

          สปป. ลาว : ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 6.9 ล้านคน แต่ถือว่าเป็นประเทศที่มีความคล้ายคลึง และใกล้เคียงในด้านวัฒนธรรมและสังคมกับประเทศไทยมากที่สุด ในสปป. ลาว นั้น สินค้าไทยถือว่าอยู่ในประเภทสินค้าที่มีคุณภาพสูง มีราคาปานกลาง-สูง โดยจะต้องเน้นสร้างความแตกต่างและเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม

          โดยส่วนมากชอบดูรายการโทรทัศน์ของไทย อ่านนิตยสารไทย ฟังวิทยุไทย เชื่อการแนะนำ บอกต่อ ร้านค้าท้องถิ่นถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ การทำโฆษณาทางสื่อต่างๆ จะมีการเซ็นเซอร์โฆษณาที่ค่อนข้างเข้มงวด และกฎระเบียบเยอะกว่าประเทศไทย

          การส่งออกไปยังสปป. ลาว จะอาศัยการขนส่งผ่านบริษัท Trading ที่อยู่ในสปป. ลาว, การไปออกงานแสดงสินค้า, ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย หรือการร่วมลงทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่น ส่วนข้อจำกัดที่ถือเป็นอุปสรรคก็คงจะเป็นในเรื่องประชากรน้อย ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค และเป็นประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล ซึ่งทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะต้องผ่านประเทศอื่น  

          เมียนมา : เป็นประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับไทยในด้านศาสนา วิถีชีวิต ความเชื่อ ทำให้เป็นกลุ่มตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ อีกทั้งชาวเมียนมานั้นมีค่านิยมในการบริโภคที่ยึดติดกับตราสินค้า โดยเฉพาะตราสินค้าไทย ที่ชาวเมียนมาถือว่าเป็นสินค้าคุณภาพดี ในการเข้าสู่ตลาดเมียนมานั้น สำคัญที่การหาตัวแทนท้องถิ่นที่ไว้ใจได้มาเป็นพันธมิตรร่วมกัน การเข้ามาลงทุนเองโดยไม่ผ่านตัวแทนจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจจะคิดเป็นเงินดอลล่าสหรัฐ อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก อีกทั้งการลงทุนหรือซื้อขายสินค้าจะเป็นระบบเงินสดแทบจะทั้งหมด เพราะการโอนเงินและอื่นๆ ไม่เอื้ออำนวย

          ส่วนในเรื่องของข้อจำกัดของเมียนมาคงจะเป็นเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมือง กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โครงสร้างพื้นฐานของเมียนมาขาดการพัฒนา และการเข้าถึงอินเตอร์เนตไม่ทั่วถึง  

          เวียดนาม : ด้วยจำนวนประชากร 92.5 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในกลุ่ม CLMV นับเป็นประเทศที่มีแหล่งผลิตที่มีศักยภาพพร้อมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านการค้า มีการลงทุนที่ชัดเจนและยังบังคับใช้ทั่วประเทศ ชาวเวียดนามนั้นมีความรู้สึกที่ดีต่อสินค้าไทย การเข้าถึงตลาดในเวียดนามควรเริ่มด้วยการส่งสินค้า (Export) เข้าไปจำหน่ายโดยผ่านทางตัวแทนจำหน่ายที่มีใบอนุญาตเท่านั้น หรือการร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่มีใบอนุญาตการเช่าสถานที่

          แต่ข้อจำกัดที่สำคัญในประเทศที่มีความพร้อมในการลงทุนเช่นเวียดนามนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการแข่งขันที่ค่อนข้างดุเดือดของนักลงทุนต่างชาติที่มีค่อนข้างเยอะ และมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกเรื่องคงเป็นเรื่องความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ แม้ปัจจุบันจะไม่ได้แบ่งแยกแล้ว แต่ก็ยังมีความต่างในเรื่องของอุปนิสัย พฤติกรรม และสำเนียงภาษา

         จะเห็นได้ว่า แม้ประเทศจะอยู่ใกล้กัน แต่ก็มีความต่าง ดังนั้น ก่อนเข้าไปลงทุนทำธุรกิจอย่าลืมศึกษาข้อมูลกันด้วยนะคะ ถ้าหากยังไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร เดอร์มา อินโนเวชั่น ขอเป็นอีกหนึ่งในที่ปรึกษาที่พร้อมให้คำปรึกษาการสร้างแบรนด์ การส่งออก และที่ปรึกษาทางการตลาดให้กับคุณลูกค้าค่ะ

         และถ้าหากลูกค้าท่านใดสนใจในการทำตลาดใน CLMV ทางเดอร์มาฯ ก็มีบริการขอ Certificate of Free Sales (หนังสือรับรองการจำหน่าย) หรือ Certificate of Origin (หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า) เพื่อใช้ในการส่งออกสินค้าให้ค่ะ 

ตัวอย่าง Certificate of Free Sales (หนังสือรับรองการจำหน่าย)

 

ตัวอย่าง Certificate of Origin (หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า)

 

         นอกจากนี้ ยังมีคอร์สสอนการตลาดแบบจัดเต็ม ที่สามารถเรียนได้ ฟรี! เพียงสั่งผลิตกับทางเดอร์มา อินโนเวชั่น ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ รวมถึง Private Line Group ที่สามารถปรึกษาข้อสงสัยทางการตลาดได้ตลอดเวลา 

         

         

         เดอร์มา อินโนเวชั่น โรงงานมาตรฐานระดับส่งออกที่ไม่ใช่แค่รับผลิต แต่เรายังเป็นที่ปรึกษาหลังการผลิตที่จะช่วยให้แบรนด์คุณประสบความสำเร็จทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ด้วยโรงงานมาตรฐาน ASEAN GMP, ISO 22716, ISO 9001 และ HALAL ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าครีมที่ผลิตกับเรา นอกจากจะอัดแน่นไปด้วยคุณภาพแล้ว ยังอัดแน่นไปด้วยมาตรฐานที่จะทำให้แบรนด์คุณ เหนือกว่าแบรนด์อื่นๆทั่วไป และประสบความสำเร็จในตลาดเครื่องสำอางได้ไม่ยาก


คลิกดูมาตรฐานของเดอร์มา อินโนเวชั่น 

www.derma-innovation.com/our-standard

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้